Thursday, November 15, 2012

บำรุงผิวด้วยว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้บำรุงหน้าใส

วิธีทำ


- ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ (ระวังยางสีเหลือง) ใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ทาให้ทั่วใบหน้า

- แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที

- จากนั้นล้างออกด้วยสบู่ โฟม หรือเจลล้างหน้า

** สูตรนี้ใช้ได้กับทั้งผู้ที่เป็นสิวหัวหนองหรือสิวอุดตัน




ว่านหางจระเข้ดูแลผิวไหม้

ส่วนผสม

1. ว่านหางจระเข้

2. กะทิคาร์เนชันแบบกระป๋อง

วิธีทำ

1. นำว่านหางจระเข้ปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด (แช่เย็นจัด)ฃ

2. เมื่อจะนำมาใช้ ให้นำกะทิกระป๋อง (แช่เย็นจัด) ผสมรวมกัน

3. แล้วทาให้ทั่วบริเวณที่ต้องการ

4. ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออก

**สูตรนี้ใช้ได้กับผิวไหม้ ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า



ว่านหางจระเข้พอกหน้า


ส่วนผสม

1. ว่านหางจระเข้ 2 ใบ

2. ใบชะพลู 10 ใบ

3. ไข่ไก่ 1 ฟอง

วิธีทำ

- นำเอาว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกให้หมด และเลือกใบชะพลูเฉพาะยอดอ่อนๆ ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นให้ละเอียด

- จากนั้นผสมไข่ไก่ลงไปเพียง 1 ฟองก่อน ให้รู้สึกว่าได้ครีมเหนียวและข้นเข้ากันดี

- เติมไข่ไก่ได้อีกทีละน้อย ปั่นอีกครั้งให้เข้ากัน

- ทำความสะอาดใบหน้าและเช็ดให้แห้งสนิท

- จากนั้นนำสูตรผสมที่เตรียมไว้พอกให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

- เมื่อซับหน้าให้แห้งจะพบว่าผิวในหน้าจะลื่น เนียน จนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

วิธีทำลอยแก้วว่านหางจระเข้

ลอยแก้วว่านหางจระเข้

ส่วนผสม

ว่านหางจระเข้ 2 ถ้วย

น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วย (หรือ 2 ถ้วย)

น้ำเปล่า 2 1/2 ถ้วย

วิธีทำ

- ปอกว่านหางจระเข้แล้วล้างยางให้หมด หั่นให้เป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าหรือเป็นเส้น

- ผสมน้ำกับน้ำตาล ใส่หม้อตั้งไฟเคี่ยวพอข้นเหนียวเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้พออุ่น

- นำว่านหางจระเข้ใส่ลงในขวด เทน้ำเชื่อมใส่ลงไปในขวด นำไปใส่ในตู้เย็น แช้ไว้ประมาณ 2-3 วัน จะอร่อยกว่า

วิธีทำน้ำว่านหางจรเข้

ส่วนผสม

เนื้อว่านหางจระเข้ประมาณ 1 ถ้วยตวง (250 กรัม)

น้ำสะอาด 3 ถ้วยตวง

ใบเตยสด 2 – 3 ใบ

น้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำแข็งเกร็ด 1 ถ้วย



วิธีทำ

- ให้เลือกใบว่านหางจระเข้ขนาดใหญ่ เพราะจะให้วุ้นมากกว่าใบเล็ก ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างให้หมดยาว แล้วนำภาชนะเคลือบหรือแก้วทนไฟ

- เติมน้ำสะอาดประมาณ 3 ถ้วยตวง นำขึ้นต้มด้วยความร้อนปานกลาง

- ระหว่างรอวุ้นสุก นำใบเตยสดประมาณ 2-3 ใบ มาซอยละเอียด แล้วคั้นด้วยน้ำอุ่นจัดๆ ให้ได้น้ำใบเตยสดประมาณครึ่งถ้วยตวง

- เมื่อวุ้นว่านหางจระเข้สุกแล้ว ยกลง ตักเฉพาะวุ้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำลงเครื่องปั่น พร้อมน้ำใบเตยสด น้ำสุกครึ่งถ้วยตวง และน้ำแข็งเกล็ด เติมน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้งสัก 1

- ปั่นส่วนผสมทั่งหมดเข้าด้วยกัน เสิร์ฟทันที

Wednesday, November 14, 2012

การปลูกว่านหางจระเข้

การปลูกว่านหางจระเข้

การปลูกว่านหางจระเข้จะต้องปลูกในที่ที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ เพราะว่านหางจระเข้เป็นพืชเขตร้อน การตั้งกระถางควรไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง และถ้าได้รับแสงแดดส่องทางทิศใต้และทิศตะวันออกจะยิ่งดี

การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้นั้นมีวิธีการทำหลายอย่าง เข่น การชำ การแยกหน่อ เป็นต้น แต่วิธีแยกหน่อเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด

ว่านหางจระเข้ที่โตเป็นต้นใหญ่แล้ว ส่วนล่างของลำต้นจะมีหน่อออกมามากมาย การแยกหน่ไม่ควรทำในขณะที่หน่อยังเล็กเกินไป ควรรอให้ต้นใหญ่มีใบสัก 14-15 ใบ

วิธีแยกต้นใหญ่ ควรให้ต้นใหญ่มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ใช้มีดตัดออกจากต้นและวางไว้ในที่ร่มและเย็น 7-10 วัน จนกว่ารอยตัดแห้งไปโดยธรรมชาติ แล้วจึงค่อยนำไปปลูกต้นใหม่ โดยจะต้องเป็นที่ที่คล้ายกับลำต้นเดิมของมัน งดการรดน้ำหนึ่งเดือนเพื่อจะให้งอกรากใหม่ แล้วค่อยย้ายมาตั้งในที่มีแสงแดด

ว่านหางจระเข้เป็นพืชเนื้อหนาเช่นเดียวกับตะบองเพชรสามารถเก็บสะสมไว้ได้ ฉะนั้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการรดน้ำ ที่สำคัญและควรระวังคือ ไม่รดน้ำมากเกินไป ในฤดูที่อากาศไม่ร้อนและมีความชุ่มชื้นพอสมควร โดยทั่วไป 3-4 วัน จึงจะรดน้ำหนึ่งครั้ง และควรรดน้ำในช่วงเช้า ส่วนฝนฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัดควรรดน้ำทกวัน วันละครั้งในตอนเย็น

ในช่วงฤดูหนาวจัดนั้นแทบจะไม่ต้องรดน้ำให้กับว่านหางจระเข้เลย แต่ถ้าตั้งกระถางไว้ในห้องหรือสถานที่อบอุ่น ทุก 7-10 วัน ให้รดน้ำครั้งหนึ่ง และควรจะรดในตอนเช้า นอกจากนั้นยังต้องสนใจใส่ปุ๋ยให้ทุกๆ 3 เดือน เนื่องจากว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ใช้รับประทาน ฉะนั้นจึงควรใช้ปุ๋ยหมัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี

การตัดใบว่านหางจระเข้ควรตัดจากล่างสู่บนตามลำดับ เนื่องจากใบที่อยู่ข้างล่างเป็นใบที่เติบโตได้ค่อนข้างดี สิ่งบำรุงเลี้ยงอุดมสมบูรณ์ เวลาตัดใบว่านหางจระเข้ควรระวัง อย่าตัดถูกลำต้น

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวควรทำการโยกย้ายว่านหางจระเข้ไปไว้ในห้องที่มีแสงแดดส่องถูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของไทย ในตอนกลางคืนอากาศจะค่อนข้างหนาวเย็น อาจใช้กล่องกระดาษครอบกระถางว่านหางจระเข้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกความเย็นจัด ซึ่งอาจะทำให้เกิดเหี่ยวเฉาได้

การเปลี่ยนกระถางควรเปลี่ยนในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน เพราะว่านหางจระเข้ที่ปลูกอยู่ในกระถางแต่ละปีจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ควรเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม และยังต้องเปลี่ยนดินใหม่ด้วย เพราะดินเก่าจะขาดธาตุอาหารและความสมบูรณ์ไป

โดยใช้ดินร่วนคลุกผสมกับปุ๋ยพืชหมัก นอกจากนั้นยังต้องใช้กรรไกรตัดแต่งรากที่ยาวรุงรังออก 1 ใน 3 จากนั้นจึงนำไปปลูกในกระถาง ในระยะหนึ่งเดือนแรกควรวางกระถางไว้ในที่ร่ม และอย่ารดน้ำ เพราะว่าเป็นช่วงที่ว่านหางจระเข้กำลังฟื้นตัวแตกรากใหม่

ข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้

ผู้ใช้ว่านหางจระเข้ครั้งแรก

- สำหรับบาดแผล ก่อนใช้ต้องนำว่านหางจระเข้ไปลวกน้ำร้อนก่อน ผู้ที่มีผิวบอบบางให้ใช้เฉพาะส่วนเนื้อวุ้นที่มีฤทธิ์ระคายเคืองน้อย

- ถ้ากินว่านหางจระเข้แล้วอาเจียนและท้องร่วง ควรลดปริมาณลง และถ้ากิน 1 สัปดาห์ แล้วอาการยังไม่หายควรหยุดกิน

- ผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรงให้กินในขณะท้องว่าง หรือก่อนอาหาร ส่วนผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอให้กินหลังอาหาร

- ควรเริ่มกินในปริมาณน้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนกินได้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ

- ควรกินตามสภาพสุขภาพร่างกาย เพราะว่านหางจระเข้จะให้สรรพคุณไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและอาการเจ็บป่วย

ผู้ใช้ว่านหางจระเข้เป็นประจำ

- ผู้ที่เกิดอาการลมชัก ควรรีบพาไปให้แพทย์ตรวจรักษา อย่าให้กินว่านหางจระเข้

- สตรีในช่วงที่มีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์ จะมีเลือดคั่งอยู่ในมดลูกง่าย ทางที่ดีจึงควรเลี่ยงไม่ใช้ว่านหางจระเข้

- น้ำคั้นจากใบว่านหางจระเข้สดที่แช้ไว้ในตู้เย็น หากมีสีเปลี่ยนไปก็ไม่ควรใช้อีก

- ใบว่านไม่ว่าจะเป็นใบสดน้ำคั้นหรือน้ำว่านต้ม ก็ใช้กินได้เป็นประจำ ซึ่งใบสดจะให้ผลดีกว่า

- ว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์เสพติด จึงใช้ต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกินมากขึ้นเรื่อยๆ



ประโยชน์จากว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณเป็นยาทั้งภายในและภายนอกร่างกายแล้ว ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการนำมาทำเป็นเครื่องดื่มและของว่าง ที่มากด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นสรรพคุณของว่านหางจระเข้ยังครอบคลุมมาถึงในเรื่องของความสวยความงามอีกด้วย

Friday, November 2, 2012

การรักษาผิวไหม้ด้วยว่านหางจระเข้


การดูแลรักษาผิวที่ไหม้แดดด้วยสมุนไพรว่านหางจระเข้ ทำได้ดังนี้

- ป้องกันการถูกแดดเผา ใช้ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้

- รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทานานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่จะทำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ

นอกจากนั้นว่านหางจระเข้สามารถแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสีบำบัดได้อีกด้วย

วิธีป้องกันผิวไหม้แดด

วิธีป้องกันผิวไหม้แดด

1. ถึงแม้จะไม่ได้อยู่กลางแจ้งก็อย่าลืมทาครีมกันแดด เพราะรังสียูวียังคงสะท้อนจากพื้นน้ำ ดิน และปูนซีเมนต์ มาทำลายผิวให้มองคล้ำอยู่ดี

2. ควรทาครีมกันแดดตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. จะดีกว่าทาแค่ช่วงแดดจัด เพราะรังสี UVA สามารถทำลายผิวได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งพระอาทิตย์ตก เป็นตัวการสำคัญทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย

3. ครีมกันแดดที่ดีควรมีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และเมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดดควรทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง เพราะประสิทธิภาพของครีมจะค่อยๆ ลดลง

ว่านหางจระเข้กับอาการผิวไหม้แดด


ว่านหางจระเข้กับผิวไหม้

อาหารชนิดหนึ่งที่เรามักนิยมรักษาด้วยว่านหางจระเข้ คือ อาการผิวไหม้แดด หรือ Sun Burn เกิดจากการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน โดยอาการไหม้แดดจะเกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละคน ถ้ายิ่งขาวมากเท่าไร ผิวจะยิ่งไหม้เร็วเท่านั้น

ปกติแล้วระดับการไหม้มีตั้งแต่ 1-6 (ตัวเลขยิ่งน้อยหมายถึงผิวขาวมาก และจะยิ่งไหม้เร็ว) ผิวสาวไทยทั่วไปจะอยู่ที่ระดับ 4-5 แต่ถ้าเป็นลูกครึ่งหรือเชื้อสายจีนที่ขาวมากๆจะอยู่ที่ระดับ 3 ประมาณว่าโดนแดดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 15 นาที ไปจนถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ก็เริ่มไหม้แล้ว

ภาวะผิวไหม้แดดแบ่งได้ตามระดับอาการดังนี้

ระดับ 1 อักเสบเล็กน้อย คัน แสบ แดง

วิธีแก้ไข : ให้รีบหลบเข้าที่ร่ม ดื่มน้ำมากๆ แล้วเติมครีมกันแดดในกรณีที่ต้องการอยู่กลางแดดต่อ จากนั้นทาอาฟเตอร์ซันที่มีส่วนผสมหลักของว่านหางจระเข้ หรือจะใช้เป็นเจลว่านหางจระเข้เลยก็ได้ เพื่อช่วยสมานผิวที่ถูกทำลายและช่วยฆ่าเชื้ออย่างอ่อนๆ ทาประมาณ 2-3 วัน อาการก็จะดีขึ้น



ระดับ 2 ปวดแสบปวดร้อนตามผิว บวมแดง

วิธีแก้ไข : หลังจากทำตามวิธีของระดับ 1 เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น 5-7 วันต่อมาอาจมีอาการผิวลอกเป็นขุย แนะนำให้ใช้ออยล์หรือผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้น เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้ารู้สึกว่าเป็นมากแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อรับยาแก้แพ้ประเภทแอนติฮิสตามีนมาทานควบคู่กับการดูแลผิวด้วย



ระดับที่ 3 พุพองเหมือนโดนน้ำร้อนลวก

วิธีการแก้ไข : รีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อยิ่งถ้าแผลแตก (หนังกำพร้ากับหนังแท้แยกตัว) จะทำให้ติดเชื้อและเกิดอาการอักเสบที่ผิวหนัง ถ้าดูแลไม่ดีอาจมีแผลเป็นหมดสวยได้ ยิ่งกว่านั้นบางรายอาจเกิดอาการเสียน้ำมากจนต้องให้น้ำเกลือและยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย โดยผิวจะหายเป็นปกติได้ใน 1 เดือน โชคดีหน่อยที่อาการในระดับนี้ ส่วนใหญ่มักจะพบในคนที่ขาวมาก อย่างชาวตะวันตกที่ชอบอาบแดดเป็นเวลานานๆ

ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่มีอาการผิวไหม้แดด

1. ผิวที่โดนแดดมาจะมีอาการขาดน้ำ จึงควรงดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะเป็นการขับปัสสาวะซึ่งจะทำให้ผิวขาดน้ำยิ่งขึ้น

2. ห้ามสครับบ์หรือขัดผิวโดยเด็ดขาด เพราะผิวจะยิ่งถูกทำร้ายมากขึ้น แนะนำให้ใช้สบู่เหลวที่มีความชุ่มชื่นสูงจะดีกว่า
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...