Wednesday, November 14, 2012

การปลูกว่านหางจระเข้

การปลูกว่านหางจระเข้

การปลูกว่านหางจระเข้จะต้องปลูกในที่ที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ เพราะว่านหางจระเข้เป็นพืชเขตร้อน การตั้งกระถางควรไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง และถ้าได้รับแสงแดดส่องทางทิศใต้และทิศตะวันออกจะยิ่งดี

การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้นั้นมีวิธีการทำหลายอย่าง เข่น การชำ การแยกหน่อ เป็นต้น แต่วิธีแยกหน่อเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด

ว่านหางจระเข้ที่โตเป็นต้นใหญ่แล้ว ส่วนล่างของลำต้นจะมีหน่อออกมามากมาย การแยกหน่ไม่ควรทำในขณะที่หน่อยังเล็กเกินไป ควรรอให้ต้นใหญ่มีใบสัก 14-15 ใบ

วิธีแยกต้นใหญ่ ควรให้ต้นใหญ่มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ใช้มีดตัดออกจากต้นและวางไว้ในที่ร่มและเย็น 7-10 วัน จนกว่ารอยตัดแห้งไปโดยธรรมชาติ แล้วจึงค่อยนำไปปลูกต้นใหม่ โดยจะต้องเป็นที่ที่คล้ายกับลำต้นเดิมของมัน งดการรดน้ำหนึ่งเดือนเพื่อจะให้งอกรากใหม่ แล้วค่อยย้ายมาตั้งในที่มีแสงแดด

ว่านหางจระเข้เป็นพืชเนื้อหนาเช่นเดียวกับตะบองเพชรสามารถเก็บสะสมไว้ได้ ฉะนั้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการรดน้ำ ที่สำคัญและควรระวังคือ ไม่รดน้ำมากเกินไป ในฤดูที่อากาศไม่ร้อนและมีความชุ่มชื้นพอสมควร โดยทั่วไป 3-4 วัน จึงจะรดน้ำหนึ่งครั้ง และควรรดน้ำในช่วงเช้า ส่วนฝนฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัดควรรดน้ำทกวัน วันละครั้งในตอนเย็น

ในช่วงฤดูหนาวจัดนั้นแทบจะไม่ต้องรดน้ำให้กับว่านหางจระเข้เลย แต่ถ้าตั้งกระถางไว้ในห้องหรือสถานที่อบอุ่น ทุก 7-10 วัน ให้รดน้ำครั้งหนึ่ง และควรจะรดในตอนเช้า นอกจากนั้นยังต้องสนใจใส่ปุ๋ยให้ทุกๆ 3 เดือน เนื่องจากว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ใช้รับประทาน ฉะนั้นจึงควรใช้ปุ๋ยหมัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี

การตัดใบว่านหางจระเข้ควรตัดจากล่างสู่บนตามลำดับ เนื่องจากใบที่อยู่ข้างล่างเป็นใบที่เติบโตได้ค่อนข้างดี สิ่งบำรุงเลี้ยงอุดมสมบูรณ์ เวลาตัดใบว่านหางจระเข้ควรระวัง อย่าตัดถูกลำต้น

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวควรทำการโยกย้ายว่านหางจระเข้ไปไว้ในห้องที่มีแสงแดดส่องถูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของไทย ในตอนกลางคืนอากาศจะค่อนข้างหนาวเย็น อาจใช้กล่องกระดาษครอบกระถางว่านหางจระเข้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกความเย็นจัด ซึ่งอาจะทำให้เกิดเหี่ยวเฉาได้

การเปลี่ยนกระถางควรเปลี่ยนในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน เพราะว่านหางจระเข้ที่ปลูกอยู่ในกระถางแต่ละปีจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ควรเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม และยังต้องเปลี่ยนดินใหม่ด้วย เพราะดินเก่าจะขาดธาตุอาหารและความสมบูรณ์ไป

โดยใช้ดินร่วนคลุกผสมกับปุ๋ยพืชหมัก นอกจากนั้นยังต้องใช้กรรไกรตัดแต่งรากที่ยาวรุงรังออก 1 ใน 3 จากนั้นจึงนำไปปลูกในกระถาง ในระยะหนึ่งเดือนแรกควรวางกระถางไว้ในที่ร่ม และอย่ารดน้ำ เพราะว่าเป็นช่วงที่ว่านหางจระเข้กำลังฟื้นตัวแตกรากใหม่

ข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้

ผู้ใช้ว่านหางจระเข้ครั้งแรก

- สำหรับบาดแผล ก่อนใช้ต้องนำว่านหางจระเข้ไปลวกน้ำร้อนก่อน ผู้ที่มีผิวบอบบางให้ใช้เฉพาะส่วนเนื้อวุ้นที่มีฤทธิ์ระคายเคืองน้อย

- ถ้ากินว่านหางจระเข้แล้วอาเจียนและท้องร่วง ควรลดปริมาณลง และถ้ากิน 1 สัปดาห์ แล้วอาการยังไม่หายควรหยุดกิน

- ผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรงให้กินในขณะท้องว่าง หรือก่อนอาหาร ส่วนผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอให้กินหลังอาหาร

- ควรเริ่มกินในปริมาณน้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนกินได้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ

- ควรกินตามสภาพสุขภาพร่างกาย เพราะว่านหางจระเข้จะให้สรรพคุณไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและอาการเจ็บป่วย

ผู้ใช้ว่านหางจระเข้เป็นประจำ

- ผู้ที่เกิดอาการลมชัก ควรรีบพาไปให้แพทย์ตรวจรักษา อย่าให้กินว่านหางจระเข้

- สตรีในช่วงที่มีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์ จะมีเลือดคั่งอยู่ในมดลูกง่าย ทางที่ดีจึงควรเลี่ยงไม่ใช้ว่านหางจระเข้

- น้ำคั้นจากใบว่านหางจระเข้สดที่แช้ไว้ในตู้เย็น หากมีสีเปลี่ยนไปก็ไม่ควรใช้อีก

- ใบว่านไม่ว่าจะเป็นใบสดน้ำคั้นหรือน้ำว่านต้ม ก็ใช้กินได้เป็นประจำ ซึ่งใบสดจะให้ผลดีกว่า

- ว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์เสพติด จึงใช้ต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกินมากขึ้นเรื่อยๆ



ประโยชน์จากว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณเป็นยาทั้งภายในและภายนอกร่างกายแล้ว ยังมีประโยชน์ในเรื่องของการนำมาทำเป็นเครื่องดื่มและของว่าง ที่มากด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นสรรพคุณของว่านหางจระเข้ยังครอบคลุมมาถึงในเรื่องของความสวยความงามอีกด้วย

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...