Wednesday, October 31, 2012

ว่านหางจระเข้กับการรักษาโรค



นอกจากนั้นว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคอื่นๆ อีก ซึ่งโรคต่างๆ นั้นมีดังนี้
โรคและอาหาร
สรรพคุณ
โรคกระเพาะอาหาร
ใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหารได้ดี ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น
ช่วยในการสมานแผล ใช้รักษาแผลในอวัยวะย่อยอาหาร
ท้องผูก
ยางสีเหลืองที่ผิวใบมีสารอโลอิน กับสารอโลอีนิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
ความดันโลหิตสูง
ช่วยให้หลอดเลือดอ่อนนุ่ม และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ความดันโลหิตต่ำ
ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายดำเนินไปด้วยดี
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ใช้ฆ่าเชื้อ ป้องกันอาการอักเสบและติดเชื้อแทรกซ้อนได้และยังกระตุ้นให้ผิวหนังกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็ว
ตาปลา
ช่วยให้ผิวส่วนที่หยาบกร้านอ่อนนุ่มขึ้น และกำจัดตาปลาได้
ปวดฟันและโรคเหงือก
ใช้แก้อักเสบ ป้องกันความเจ็บปวดเฉียบพลัน ลดอาการปวดฟันเนื่องจากฟันผุเป็นการชั่วคราว
ช่องปากอักเสบ
ว่านหางจระเข้สามารถฆ่าเชื้อโรคประเภทสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus) และเชื้อโรคอื่นๆ ได้ ทำให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้น

ว่านหางจระเข้กับโรคตับ

โรคตับ กับว่านหางจระเข้

ตับเป็นอวัยวะที่ร่างกายใช้งานบ่อยที่สุด เพราะมีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญอาหาร และเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สลายสารพิษแล้วขับออกจากร่างกายในรูปของเสีย ตับจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเราเป็นอย่างมาก คนที่ชอบดื่มสุราจึงยิ่งต้องระวังจะเป็นโรคตับแข็ง

เนื่องจากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยแก้พิษ จึงช่วยการทำงานของตับได้ นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งหากสามารถใช้ว่านหางจระเข้ควบคู่ไปกับการรักษาโรคตับได้จะช่วยให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น การกินว่านหางจระเข้ต่อเนื่องกันเสมอก็จะช่วยป้องกันโรคตับได้ด้วย

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

การใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคตับนี้ ให้เลือกวิธีกินได้ตามที่ตัวเองชอบ เช่น กินใบสดโดยตรง ทำเป็นน้ำว่าน น้ำผลไม้ผสมว่าน แต่ผู้ป่วยโรคตับไม่เหมาะจะดื่มสุราว่าน เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักมากขึ้น

ที่สำคัญคือ ต้องกินว่านหางจระเข้ต่อเนื่องกันถึงจะได้ผล จึงควรเลือกวิธีกินที่ง่าย และเมื่อให้แพทย์รักษาไประยะหนึ่งแล้ว ถ้ากินว่านหางจระเข้ จะช่วยป้องกันมิให้โรคกำเริบซ้ำอีก

โรคฮ่องกงฟุตกับว่านหางจระเข้


ว่านหางจระเข้กับโรคฮ่องกงฟุต

เมื่อผิวหนังที่มือและเท้าติดเชื้อรา ก็จะกลายเป็นโรคเท้าเปื่อยหรือฮ่องกงฟุต ซึ่งมีอาการที่สำคัญคือ จะคันมาก

โรคฮ่องกงฟุต มี 2 ชนิด ชนิดแรก ผิวหนังจะเป็นผิวแห้งและหยาบกร้าน ชนิดที่สอง จะมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโรคนี้ถ้าเป็นมากๆ ก็จะเกิดติดเชื้อแทรกซ้อนซึ้นจนกระทั่งทำให้เดินไม่ได้

ว่านหางจระเข้ใช้ได้ผลดีมากกับโรคฮ่องกงฟุต เพราะว่าสารสำคัญจากว่านหางจระเข้มีสรรพคุณฆ่าและยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีกได้ หลังจากใช้ว่านหางจระเข้ผู้ป่วยจะไม่เกิดอาการคันอีก ต่อมาผิวหนังชั้นนอก ก็จะลอกออก แล้วโรคฮ่องกงฟุตก็จะค่อยๆ หายไปในที่สุด

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

ก่อนอื่นต้องล้างบริเวณที่เป็นโรคฮ่องกงฟุตให้สะอาดก่อน และเช็ดให้แห้ง จากนั้นเอาเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนหรือน้ำด่างทับทิมแล้วมาพอกปิดไว้ และถ้าต้องการให้ได้ผลมากขึ้นควรใช้เนื้อวุ้นว่านปิดหลังอาบน้ำ เพราะสารในเนื้อว่านจะซึมซาบเข้าไปในผิวหนังได้ง่ายขึ้น ถ้าอาการไม่มากนักก็จะหายคันได้ง่าย ทำให้ผิวหนังเนียนเรียบได้อย่างรวดเร็ว

Monday, October 29, 2012

รักษาแผลด้วยว่านหางจระเข้


รักษาแผลจากของมีคมบาด และแผลถลอก ด้วยว่านหางจระเข้


โอกาสที่เราจะเกิดแผลจากของมีคมบาด หรือแผลถลอกในชีวิตประจำวันนั้นมีมากเหลือเกิน โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็ก จะยิ่งเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้บ่อยมาก

ถ้าคุณคิดว่าแผลจากของมีคมบาดหรือแผลถลอกเป็นแผลเล็กๆ แล้วไม่เอาใจใส่ นั่นจะเป็นอันตรายมาก เพราะแผลเหล่านี้อาจกลัดหนองหรืออาจเป็นแผลเรื้อรังจนเป็นบาดทะยักได้ ดังนั้นเพื่อมิให้แผลกลายเป็นแผลเรื้อรัง จึงควรพยายามรักษาโดยเร็วที่สุดเสียแต่เริ่มแรก

ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อ ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน อีกทั้งสามารถกระตุ้นการเติบโตของเนื้อเยื่อส่วนที่ได้รับบาดเจ็บอีกด้วย ดังนั้นว่านหางจระเข้จึงเป็นยาที่ดีในการรักษาแผลจากของมีคมบาดหรือแผลถลอก

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้


ล้างสิ่งสกปรกในแผลออกด้วยน้ำก่อน ถ้าเป็นแผลเล็กน้อยให้นำว่านหางจระเข้ไปฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนหรือล้างด้วยน้ำด่างทับทิม แล้วนำไปทาที่แผล ถ้าเป็นแผลค่อนข้างใหญ่ก็ให้เอาเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้พอกไว้ที่แผล แล้วพันด้วยผ้าพันแผลให้เรียบร้อย พอเนื้อวุ้นแห้งแล้วให้เปลี่ยนใหม่ 2-3 วัน (สำหรับกรณีแรก) หรือประมาณ 1 เดือน (สำหรับกรณีหลัง) แผลก็จะหายดี

แก้อาการเมารถ เมาเรือ ด้วยว่านหางจระเข้

แก้อาการเมารถ เมาเรือ ด้วยว่านหางจระเข้

เวลาโดยสารรถหรือเรือแล้วรู้สึกไม่สบาย มีอาการเมารถเมาเรือ โดยเฉพาะคนที่มีประสาทอัตโนมัติไว จะเกิดอาการเมารถเมาเรือได้ง่ายที่สุด อากาเมาที่ว่านี้จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ เหงื่อแตก อาเจียน

คนที่ปกติไม่เมารถเมาเรือก็อาจเกิดอาการเมาได้ ถ้ากระเพาะอาหารทำงานผิดปกติหรือนอนหลับไม่เพียงพอ

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

สารในว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยระงับประสาท จึงใช้ได้ผลดีกับอาการเมารถเมาเรือ วิธีกินที่ได้ผลเร็วที่สุด คือ กินใบว่านสดๆ โดยอาจเคี้ยวกินโดยตรงหรือทำเป็นน้ำว่านดื่มก็ได้

การป้องกันอาการเมารถเมาเรือ ให้กินใบว่านหางจระเข้ขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ไว้ก่อนที่จะโดยสารรถหรือเรือ หรือจะดื่มน้ำว่านก็ได้และแม้แต่เมื่อมีอาการเมารถเมาเรือแล้ว หากได้กินใบว่านหางจระเข้สักเล็กน้อยจะทำให้รู้สึกสบายขึ้นมากๆ

Saturday, October 27, 2012

บรรเทาหวัดด้วยว่านหางจระเข้


ไข้หวัด


โรคหวัดเป็นโรคของอวัยวะทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส แม้จะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงอะไร แต่มันสามารถพัฒนาและก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้มากมาย ดังนั้นจึงควรรักษาเสียแต่เนิ่นๆ

ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ที่จะทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดไม่แพร่ขยายตัวอีกจึงช่วยป้องกันไข้หวัดได้ และถึงจะเป็นหวัดอยู่แล้วเมื่อกินว่านหางจระเข้ก็จะหายได้โดยเร็ว และว่านหางจระเข้ยังช่วยรักษาอาการของไข้หวัด เช่น ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ ได้ดีอีกด้วย

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

ใช้ใบว่านหางจระเข้ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร บดหรือขูดให้เป็นน้ำวุ้น เติมน้ำสุกอุ่น 1 แก้ว แล้วรับประทาน หรือจะใส่น้ำผึ้งหรือน้ำมะนาว เพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นก็ได้ ซึ่งก็จะมีผลช่วยแก้อาการอักเสบที่หลอดคอ และช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

โรคหอบหืดกับว่านหางจระเข้



หืดหอบ

โรคหืดหอบเกิดจากการแพ้สารบางอย่าง ซึ่งสารนี้จะไปกระตุ้นประสาทซิมพาเติก ทำให้กล้ามเนื้อที่หลอดลมเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง แต่โดยทั่วไปแล้วโรคหอบหืดเกิดจากร่างกายที่มีความผิดปกติ จึงควรใช้ว่านหางจระเข้ปรับสภาพร่างกายให้ดีขึ้น เสริมเยื่อบุในหลอดลมให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

เวลาเป็นหืดหอบจะรู้สึกไม่สบายที่หลอดคอ ดังนั้นให้ดื่มน้ำว่านจะดีที่สุด โดยผสมน้ำร้อนให้เจือจางก่อนแล้วค่อยดื่ม

ถ้าเด็กเป็นหอบหืดน่าจะใส่น้ำผึ้งผสมด้วยสักเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยลดรสขม ทำให้ดื่มง่ายขึ้น เด็กควรกินประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของที่ผู้ใหญ่กิน

ในบางคนอาการอาจหายไปในเวลาราว 1 เดือน แต่ก็ควรที่จะกินว่านหางจระเข้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยกินวันละ 1-2 ครั้ง จะดีกว่า

Tuesday, October 23, 2012

รักษาแผลฟกช้ำด้วยว่านหางจระเข้



ว่านหางจระเข้

อาการฟกช้ำ ขัดยอก

ว่านหางจระเข้ใช้ได้ผลดีมากกับอาการฟกช้ำ ขัดยอก ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลคนเจ็บที่หกล้มฟกช้ำควรประคบด้วยน้ำเย็น ส่วนคนเจ็บที่เกิดการเคล็ดควรต้องเข้าเฝือกและตรึงด้วยไม้ เพื่อให้บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอยู่นิ่งๆ จากนั้นให้ปิดด้วยเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ เนื่องจากมีฤทธิ์ให้แก้ร้อน แก้อักเสบ และบรรเทาปวด จึงรักษาให้หายได้เร็วมาก

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

วิธีการรักษาด้วยว่านหางจระเข้ก็เพียงฝานว่านหางจระเข้เป็นชิ้นบางๆ บิดไว้ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วใช้ผ้าพันแผลปิดให้เรียบร้อย

ถ้าฟกช้ำเป็นบริเวณกว้างหรือขัดยอกให้พอกด้วยว่านหางจระเข้ โดยบดว่านให้ละเอียดก่อนแล้วป้ายลงบนผ้ากอซ แล้วนำไปปิดบริเวณที่บาดเจ็บจากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลพันให้เรียบร้อย นอกจากนี้จะใช้แป้งหมี่ผสมกับน้ำว่านนำมาทาตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บก็ได้ ถ้าแป้งที่พอกไว้แห้งแล้วแกะออกยาก ให้ใช้ผ้าเปียกปิดไว้ให้แป้งอ่อนตัวก่อน แล้วค่อยแกะออก จะช่วยให้แกะออกได้ง่ายขึ้น

ว่านหางจระเข้รักษาเบาหวาน


โรคเบาหวานนี้ใช่จะเป็นกันแต่ในคนวัยกลางคนและวัยชราเท่านั้น แม้กระทั่งเด็กก็มีแนวโน้มจะเป็นโรคเบาหวานกันมากขึ้น สาเหตุนั้นอาจเกี่ยวกับความอ้วนและวิธีกินอาหารแบบผิดๆ

โรคเบาหวาน หมายถึง สภาวะการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ โดยมีลักษณะสำคัญคือ เกิดจากตับอ่อนสร้างสารอินซูลินไม่เพียงพอ จนทำให้ในเลือดมีน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น อาการก็มีทั้งอ่อนเพลีย คอแห้ง อ่อนระโหยโรยแรง ปัสสาวะมาก และถ้าเป็นหนักความต้องการทางเพศจะลดน้อยถอยลง และสูญเสียภูมิต้านทานโรค อาจะถึงขนาดเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้

การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้อาการของโรคเบาหวานดีขึ้น แต่ก็จะไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปตลอดชีวิต จึงควรศึกษาโรคเบาหวานให้ดี และรักษาตัวตามคำแนะนำของแพทย์

เนื่องจากว่านหางจระเข้มีส่วนเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จึงใช้ว่านหางจระเข้ควบคู่กับการรักษาจากแพทย์ จะช่วยให้สามารถควบคุมอาการเบาหวานไว้ดี



เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

โรคเบาหวานเกิดจากการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติไปและว่านหางจระเข้ก็ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญอาหารในร่างกายได้ จึงใช้ได้ผลดีมาก

วิธีรับประทาน จะรับประทานว่านสด หรือหากต้องการรสชาติอร่อยจะดื่มน้ำคั้นว่านหางจระเข้ ก็ได้ ในปริมาณ 15 กรัม ทุกวัน

หากเป็นการรับประทานเพื่อป้องกันโรค ควรรับประทานในปริมาณน้อยลง

สรรพคุณทางยา ว่านหางจระเข้

สรรพคุณของว่านหางจระเข้ นั้นมีอย่างหลากหลาย สามารถใช้ได้ทั้งสำหรับรับประทานและใช้ทาภายนอกสรรพคุณสำหรับการรับประทาน ยกตัวอย่างเช่น อาการท้องผูก กระเพาะเป็นแผล สำไส้ส่วนต้นเป็นแผล โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตต่ำ เมารถ เมาเรือ เมาค้าง โรคตับ ไข้หวัด หืดหอบ โรคเบาหวาน ริดสีดวงทวาร ฯลฯ

มีบางคนมักประสบปัญหาเรื่องท้องผูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวมักกลัดกลุ้มกับอาการท้องผูกที่รักษาไม่หาย ซึ่งมีส่วนก่อให้เกิดสิวและฝีตามใบหน้า กระทั่งริดสีดวงที่ทวารหนัก การถ่ายอุจจาระเป็นปกติก็คือการถ่ายอย่างมีกฏเกณฑ์ ซึ่งอาจเป็นการถ่ายทุกวัน หรือ 2 วันครั้งก็ได้ แต่ถ้า 3-4 วัน ติดต่อกัน หรือมากกว่า 4 วัน จึงจะถ่าย หรือยังไม่ม่ควมต้องการจะถ่าย เช่นนี้จัดว่าเป็นอาการท้องผูก

หากรับประทานว่านหางจระเข้จะช่วยให้ขับถ่ายเป็นปกติ รักษาโรคท้องผูกได้ เพราะในว่านหางจระเข้จะมีสารสำคัญที่เป็นยาระบายนั่นเอง

สรรพคุณสำหรับการใช้ทาภายนอก ยกตัวอย่างเช่น สิว ฝ้า แผลทื่เกิดจากความร้อนทั้งไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แผลถลอก แผลถูกของมีคม แผลแมลงกัดต่อย ตาปลา ฟันผุ เหงือกอักเสบ โพรงปากอักเสบ และมุมปากเปื่อย ปากนกกระจอก ปวดกล้ามเนื้อไหล่ ฯลฯ


สรรพคุณฉบับแพทย์แผนไทย กล่าวถึงวิธีรักษาด้วยว่านหางจระเข้ ไว้ดังนี้
1. แก้ปวดศีรษะ ใช้ว่านหางจระเข้ตัดตามขวางให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูนแดงทาที่วุ้นแล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวดได้

2. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำวุ้นว่านหางจระเข้จากว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟลวกขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ที่แผลให้เปียกอยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก

3. ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาบ่อยๆ จะช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดบริเวณผิวที่ลอก

4. แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำจากวุ้นว่ายหางจระเข้ลงไป ให้ผ้าตรงบริเวณที่แผล

5. กระเพาะลำไส้อักเสบ ให้รับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆ ครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่นในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ

6. บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ชโลมผมให้ทั่วทิ้งไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ แต่ที่ต้อง

7. ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาแผล รักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง

8. ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นว่านหางจระเข้จะมีฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคัน และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็วด้วย

9. ขี้เรื้อนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นว่านหางจระเข้กินวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ และทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้เป็นยาฝาดสมานอาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว เช่น เบบี้ออยล์ หรือน้ำมันมะกอกควบคู่ไปด้วย

10. ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่ายหางจระเข้ทาเช้า- เย็น จะช่วยลดรอยแผลเป็นได้

11. ลบท้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้องขณะที่ตั้งครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อ เพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม

12. เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาที่บริเวณเส้นเลือดดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก

13. มะเร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาวันละ 2-4 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน อาการจะทุเลาลง กรณีนี้อาจใช้หลายเดือนจึงจะเห็นผล

14. แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเบาๆ ให้ทั่วใน 24 ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก

15. โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้นว่านหางจระเข้เป็นประจำ จะหายจากอาการปวดได้

สรรพคุณว่าหางจระเข้ 1


สรรพคุณว่านหางจระเข้ ฉบับแพทย์แผนไทยระบุไว้ว่า รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลไหม้จากแสงแดด หรือแผลเรื้อรังต่างๆ และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ตำรายาไทยใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำใช้เป็นยาระบาย วุ้นสดจากใบใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ แผลจากความเย็น (Frostbite) แผลที่ถูกแมลงกัดต่อย และจากไฟไหม้ที่เนื้อเยื่อ ผิวหนังถูกทำลายไป เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณแผลจะช่วยให้รู้สึกเย็น และช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่บริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน และยังป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย

ว่านหางจระเข้ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคและทำลายพิษที่เชื้อโรคขับออกมาได้ด้วย วุ้นจากว่านหางจระเข้ใช้รับประทานเพื่อช่วยรักษา และสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังใช้วุ้นของว่านหางจระเข้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง อาทิเช่น แชมพูสระผม เพราะช่วยบำรุงเส้นผม หรือผสมในครีมกันแดดและครีมบำรุงผิวได้ด้วย

และยางจากใบว่านหางจระเข้ยังมีประโยชน์อีกด้วย คือนำมาใช้เป็นยาระบาย โดยการทำให้แห้งเป็นก้อน เรียกว่า ยำดำ ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ

ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้

วิธีการทำยาดำ

ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบใหญ่ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยมีปริมาณน้ำยางน้อย ใช้ในการผลิตยาดำไม่ได้ จึงต้องเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

ต้นที่เหมาะจะตัดควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ ไปจนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบให้เลือกใบล่างสุด และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยมให้ข้นเทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน กลายมาเป็นยาดำ ซึ่งมีลักษณะสีแดงน้ำตาลจนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขม สาระสำคัญในยาดำใช้เป็นยาระบาย

ส่วนที่เป็นวุ้นมีสารที่มีประโยชน์คือ สารอะโลอิน (aloin) และสารอื่นๆ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง



สรรพคุณทางยาส่วนที่เป็นวุ้น

1. ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยสมานห้ามเลือด ระงับปวด

2. รักษาโรคผิวหนัง แผลเรื้อรัง เริม งูสวัด

3. ลบรอยแผลเป็น แก้ผื่นคันจากการแพ้สารต่างๆ

4. แก้ขี้เรื้อนกวาง ผื่น ปวดแสบปวดร้อน แก้พิษแมลง แมงกะพรุน

5. รักษาโรคกระเพาะอักเสบ ท้องผูก บำรุงร่างกาย ขับพิษ


ส่วนต่างๆ ของต้นว่านหางจระเข้มีผลในการรักษา ดังนี้

ใบ รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี

ทั้งต้น รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา

ราก รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด

ยางในใบ เป็นยาระบาย

น้ำวุ้นจากใบ ล้างด้วยน้ำสะอาด และฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกัน รักษาอาการไหม้จากแสงแดด รักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น

เนื้อวุ้น เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร

เหง้า ต้มรับประทานแก้หนองใน

ต้นว่านหางจระเข้ที่จะนำมาใช้ ควรเป็นต้นที่ปลูกนาน 1 ปีขึ้นไป หรือสังเกตจากใบที่ใหญ่ที่สุด ควรมีความกว้างที่โคนใบประมาณ 1-2 นิ้ว อย่างไรก็ตามต้นเล็กก็มีสรรพคุณในการรักษาเช่นกัน แต่สรรพคุณของมันจะมีมากขึ้นตามอายุ จึงควรมีต้นแก่ๆ สักต้นในบ้าน

การเลือกใบตามปกติควรใช้ใบล่างสุด เพราะเป็นใบที่แก่และใหญากว่าใบอื่น ดังนั้นจึงมีน้ำวุ้นว่านหางจระเข้มากและมีคุณค่าทางยามากกว่า

เมื่อเราปลอกเปลือกว่านหางจระเข้หมด จะเหลือส่วนที่เป็นแท่งใสๆ ส่วนนี้เราเรียกว่าวุ้น และเมื่อขูดเนื้อวุ้นนี้จะมีน้ำไหลออกมา

วิธีใช้เนื้อวุ้นว่านหางจระเข้รักษาแผล ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะทำให้ระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางๆ ปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย

นอกจากนั้นยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นไกลโคโปรตีน ชื่อ อะลอกตินเอ (Aloction A) ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสียคือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง



ข้อควรระวังในการใช้

ภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร

ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจจะมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ

การที่ว่านหางจระเข้ มากไปด้วยสรรพคุณเช่นนี้ เป็นเพราะสารที่มีประโยชน์ในว่านหางจระเข้นั่นเอง โดยสารต่างๆ มีดังนี้

1. สารอะโลคูติน และสารอะลอกตินเอ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคและสลายพิษของเชื้อโรค

2. สารอะโลมัยซิน เป็นสารที่สามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งได้

3. สารโพลีเซ็กคาไรท์ ช่วยกระตุ้นการสมานแผลได้

4. สารบาร์บาโลอิน มีฤทธิ์ในทางระงับเชื้อวัณโรค

5. สารแอนทราควิโนน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...