Tuesday, October 23, 2012

สรรพคุณว่าหางจระเข้ 1


สรรพคุณว่านหางจระเข้ ฉบับแพทย์แผนไทยระบุไว้ว่า รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลไหม้จากแสงแดด หรือแผลเรื้อรังต่างๆ และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ตำรายาไทยใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำใช้เป็นยาระบาย วุ้นสดจากใบใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ แผลจากความเย็น (Frostbite) แผลที่ถูกแมลงกัดต่อย และจากไฟไหม้ที่เนื้อเยื่อ ผิวหนังถูกทำลายไป เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณแผลจะช่วยให้รู้สึกเย็น และช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่บริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน และยังป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย

ว่านหางจระเข้ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคและทำลายพิษที่เชื้อโรคขับออกมาได้ด้วย วุ้นจากว่านหางจระเข้ใช้รับประทานเพื่อช่วยรักษา และสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังใช้วุ้นของว่านหางจระเข้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง อาทิเช่น แชมพูสระผม เพราะช่วยบำรุงเส้นผม หรือผสมในครีมกันแดดและครีมบำรุงผิวได้ด้วย

และยางจากใบว่านหางจระเข้ยังมีประโยชน์อีกด้วย คือนำมาใช้เป็นยาระบาย โดยการทำให้แห้งเป็นก้อน เรียกว่า ยำดำ ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ

ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้

วิธีการทำยาดำ

ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบใหญ่ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยมีปริมาณน้ำยางน้อย ใช้ในการผลิตยาดำไม่ได้ จึงต้องเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

ต้นที่เหมาะจะตัดควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ ไปจนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบให้เลือกใบล่างสุด และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยมให้ข้นเทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน กลายมาเป็นยาดำ ซึ่งมีลักษณะสีแดงน้ำตาลจนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขม สาระสำคัญในยาดำใช้เป็นยาระบาย

ส่วนที่เป็นวุ้นมีสารที่มีประโยชน์คือ สารอะโลอิน (aloin) และสารอื่นๆ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง



สรรพคุณทางยาส่วนที่เป็นวุ้น

1. ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยสมานห้ามเลือด ระงับปวด

2. รักษาโรคผิวหนัง แผลเรื้อรัง เริม งูสวัด

3. ลบรอยแผลเป็น แก้ผื่นคันจากการแพ้สารต่างๆ

4. แก้ขี้เรื้อนกวาง ผื่น ปวดแสบปวดร้อน แก้พิษแมลง แมงกะพรุน

5. รักษาโรคกระเพาะอักเสบ ท้องผูก บำรุงร่างกาย ขับพิษ


ส่วนต่างๆ ของต้นว่านหางจระเข้มีผลในการรักษา ดังนี้

ใบ รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี

ทั้งต้น รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา

ราก รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด

ยางในใบ เป็นยาระบาย

น้ำวุ้นจากใบ ล้างด้วยน้ำสะอาด และฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกัน รักษาอาการไหม้จากแสงแดด รักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น

เนื้อวุ้น เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร

เหง้า ต้มรับประทานแก้หนองใน

ต้นว่านหางจระเข้ที่จะนำมาใช้ ควรเป็นต้นที่ปลูกนาน 1 ปีขึ้นไป หรือสังเกตจากใบที่ใหญ่ที่สุด ควรมีความกว้างที่โคนใบประมาณ 1-2 นิ้ว อย่างไรก็ตามต้นเล็กก็มีสรรพคุณในการรักษาเช่นกัน แต่สรรพคุณของมันจะมีมากขึ้นตามอายุ จึงควรมีต้นแก่ๆ สักต้นในบ้าน

การเลือกใบตามปกติควรใช้ใบล่างสุด เพราะเป็นใบที่แก่และใหญากว่าใบอื่น ดังนั้นจึงมีน้ำวุ้นว่านหางจระเข้มากและมีคุณค่าทางยามากกว่า

เมื่อเราปลอกเปลือกว่านหางจระเข้หมด จะเหลือส่วนที่เป็นแท่งใสๆ ส่วนนี้เราเรียกว่าวุ้น และเมื่อขูดเนื้อวุ้นนี้จะมีน้ำไหลออกมา

วิธีใช้เนื้อวุ้นว่านหางจระเข้รักษาแผล ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะทำให้ระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางๆ ปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย

นอกจากนั้นยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นไกลโคโปรตีน ชื่อ อะลอกตินเอ (Aloction A) ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสียคือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง



ข้อควรระวังในการใช้

ภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร

ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจจะมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ

การที่ว่านหางจระเข้ มากไปด้วยสรรพคุณเช่นนี้ เป็นเพราะสารที่มีประโยชน์ในว่านหางจระเข้นั่นเอง โดยสารต่างๆ มีดังนี้

1. สารอะโลคูติน และสารอะลอกตินเอ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคและสลายพิษของเชื้อโรค

2. สารอะโลมัยซิน เป็นสารที่สามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งได้

3. สารโพลีเซ็กคาไรท์ ช่วยกระตุ้นการสมานแผลได้

4. สารบาร์บาโลอิน มีฤทธิ์ในทางระงับเชื้อวัณโรค

5. สารแอนทราควิโนน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...